สถิติ
เปิดเมื่อ13/07/2018
อัพเดท18/11/2018
ผู้เข้าชม117
แสดงหน้า203
ปฎิทิน
April 2024
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
    




บทความ

ข้อมูลทั่วไปของจังหวัดสุโขทัย

คำขวัญของจังหวัดสุโขทัย

                                             'มรดกโลกล้ำเลิศ                              กำเนิดลายสือไทย 
                                             เล่นไฟลอยกระทง                             ดำรงพุทธศาสนา
                                             งามตาผ้าตีนจก                                 สังคโลก ทองโบราณ 
                                             สักการแม่ย่า พ่อขุน                           รุ่งอรุณแห่งความสุข'
 

เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีพื้นสี ๓ สี แถบแดงอยู่เบื้องบน แถบสีเหลืองอยู่ตรงกลาง และแถบเขียวอยู่เบื้องล่าง พื้นธงมุมบนด้านใกล้คันธง มีภาพพ่อขุนรามคำแหงมหาราช  พระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์พระร่วงประทับบนพระแท่นมนังคศิลาและมีคำว่าจังหวัดสุโขทัยอยู่เบื้องล่างใต้ฐานยอดคันธงชิดกับมุมบนของธงด้านเสามีแถบสีแดง สีเหลืองและสีเขียวห้อยชายมายังเบื้องล่างในลักษณะพองาม การใช้สีแดง สีเหลือง และสีเขียวเป็นพื้นธงมีความหมายดังนี้

สีแดง  หมายถึง พ่อขุนรามคำแหงมหาราชได้แผ่ขยายอาณาเขตออกไปได้อย่างกว้างขวาง ทิศเหนือได้เมืองแพร่ เมืองน่าน ทิศตะวันตกถึงเมืองหงสาวดี ทิศตะวันออกแผ่พระราชอาณาเขตออกไปจนถึงแม่น้ำโขง ต่อแดนเวียงจันทน์และเวียงคำ   ทิศใต้ได้ตลอดถึงแหลมมาลายู  นับว่าดินแดนของประเทศไทยสมัยนั้นแผ่ขยายกว้างขวางยิ่งกว่าสมัยใดทั้งสิ้น

สีเหลือง   หมายถึง  พระพุทธศาสนา ในสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานีได้ฟื้นฟูพระพุทธศาสนาจนเจริญรุ่งเรืองและนิมนต์พระสังฆราชจากลังกามาปรับปรุงกิจการคณะสงฆ์ให้เป็นระเบียบเรียบร้อยต้องตามพุทธบัญญัติ และเป็นครั้งแรกที่พระมหากษัตริย์เสด็จออกทรงผนวช

สีเขียว   หมายถึง  การเกษตร ซึ่งเป็นอาชีพหลักของคนไทยสมัยสุโขทัยเป็นราชธานี ประชาชนดำรงชีพด้วยความสบาย ข้าวปลาอาหารบริบูรณ์ ใครใคร่ประกอบอาชีพใดก็ตามใจชอบ เจ้าเมืองไม่เก็บจังกอบ จึงอยู่กันด้วยความเป็นสุขสบาย ดังปรากฏตามศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราชหลักที่ 1   ดังนี้

'…เมื่อชั่วพ่อขุนรามคำแหง เมืองสุโขทัยนี้ดี ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว เจ้าเมืองบ่อเอา    จกอบในไพร่ลู่ทาง เพื่อนจูงวัวไปค้า ขี่ม้าไปขาย ใครจักใคร่ค้าช้าง ค้า ใครจักใคร่ค้าม้า ค้า ใครจักใคร่ค้าเงือนค้าทอง ค้า   ไพร่ฟ้าหน้าใส…'